Monday, 29 April 2024
วรกร ล้ำประเสริฐ

ผลข้างเคียงจากการใส่หน้ากากอนามัย คาร์บอนฯ ในเลือดสูง ทำ ‘ปวดหัว-วิตกกังวล’

ผมได้อ่านบทความฉบับหนึ่งที่มีการตีพิมพ์ลงใน The New York Times ว่ามีการสำรวจจาก PN MEDICAL ในกลุ่มผู้สวมหน้ากากอนามัยในช่วงที่มีการระบาดของโควิด-19 ที่ผ่านมา ส่งผลต่อรูปแบบการหายใจและการควบคุมอุณหภูมิ ซึ่งส่งผลต่อทั้งร่างกายและจิตใจของผู้สวมใส่ ซึ่งพอได้อ่านมาเช่นนี้ สำหรับผมตื่นเต้นมากเพราะเราไม่เคยคิดถึงเลยว่าแค่สวมหน้ากากจะส่งผลต่อชีวิตเราขนาดนี้

ในการศึกษาระบุว่าการสวมหน้ากากจะส่งผลทำให้การหายใจของผู้สวมผิดปกติและจะทำให้ระดับของคาร์บอนไดออกไซด์ในกระแสเลือดของผู้สวมหน้ากากเพิ่มขึ้นมากกว่าผู้ที่ไม่ได้สวมและแม้จะถอดหน้ากากออกแล้วก็ตามอาการนี้ก็ยังไม่หายไปอย่างทันที ซึ่งผลจากการที่มีภาวะคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดสูงจะส่งผลทำให้เกิดอาการวิตกกังวล ปวดหัวและเกิดอาการของตะคริวได้

สะพรึง!! 'โรคไข้ฉี่หนู' ภัยเงียบที่มาพร้อมกับน้ำท่วม แต่วัคซีนป้องกันเฉพาะทาง ยังไม่มีจำหน่ายในไทย

ในขณะที่น้ำท่วมกำลังเยือนคนไทยอย่างถ้วนหน้ากันตามลำดับนั้น วันนี้ผมจึงอยากจะนำโรคที่มากับน้ำท่วมให้ทุกคนได้รู้จักกัน

โรคน้ำกัดเท้า หรือ ฮ่องกงฟุต เป็นโรคผิวหนังที่บริเวณเท้าติดเชื้อรา พบได้ทุกเพศ และทุกวัย แต่พบบ่อยกว่าในผู้ชายโดยเฉพาะในช่วงวัยรุ่น แต่จะพบได้น้อยในเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี และเนื่องจากเป็นโรคพบบ่อยจากเท้าเปียกน้ำหรือจากการลุยน้ำ บ้านเราจึงเรียกว่า 'โรคน้ำกัดเท้า' ขณะเดียวกันยังพบได้บ่อยในนักกีฬาผ่านรองเท้าที่เปียกชื้นจากเหงื่อ จึงได้ชื่อว่า 'โรคเท้านักกีฬา' (Athlete’s foot) 

(***โรคนี้มีตำนานมาจากกองทัพอังกฤษที่ประจำอยู่ในฮ่องกงในช่วงสงครามฝิ่น เมื่อทหารอังกฤษเจอภูมิอากาศร้อนชื้นและฝนตกในฮ่องกงส่งผลให้ทหารอังกฤษเป็นโรคผิวหนังที่ไม่รู้จัก ซึ่งเป็นตุ่มเล็ก ๆมากมาย บ้างบวมแดง มีเป็นหนอง และคัน โดยแพทย์ยุโรปไม่เคยเจอโรคแบบนี้ จึงคิดว่ามันเป็นโรคระบาดในฮ่องกง และเรียกมันว่า 'ฮ่องกงฟุต')

โรคต่อมาเป็นโรคที่มาจากการรับประทานน้ำที่มีการปนเปื้นเชื้อโรค ซึ่งมีหลายโรคที่มีโอกาสติดเชื้อได้ในช่วงน้ำท่วมอย่างนี้ เช่น โรคไวรัสตับอักเสบเอ, ไข้รากสาดน้อยหรือไทฟอยด์ เป็นต้น ซึ่งโรคเหล่านี้เป็นโรคที่มีวัคซีนที่สามารถป้องกันการเกิดโรคได้

อีกโรคหนึ่งที่น่าสะพรึงกลัวกว่าที่คิด ซึ่งมักมาพร้อมกับภัยน้ำท่วมเช่นนี้ และปัจจุบันในไทยก็ยังไม่มีวัคซีนป้องกันด้วย นั่นก็คือ 'โรคไข้ฉี่หนู'

โรคไข้ฉี่หนูเกิดจากเชื้อเลปโตสไปรา (Leptospira) ที่ถูกขับออกมาจากปัสสาวะของสัตว์ที่ติดเชื้อ การติดเชื้อในคนมีสาเหตุมาจากการสัมผัสดินหรือน้ำที่ท่วมขังหรืออาหารที่ปนเปื้อนปัสสาวะ, เลือด หรือเนื้อเยื่อของของสัตว์ที่มีเชื้อ เช่น สุนัข, วัว, ควาย, หนู, สุกร, ม้า หรือแม้กระทั่งสัตว์ป่าต่างๆ ได้ โดยผู้ที่ได้รับเชื้อโรคฉี่หนูส่วนใหญ่จะไม่มีอาการหรือมีอาการน้อย มีเพียงประมาณ 10-15% ที่จะมีอาการรุนแรง

เมื่อเชื้อโรคฉี่หนูเข้าสู่ร่างกาย เชื้อจะเข้าสู่กระแสเลือดและกระจายไปยังอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย มีระยะฟักตัวก่อนเกิดอาการเร็วหรือช้าในแต่ละคนจะไม่เท่ากัน บางรายมีอาการเร็วภายใน 2 วัน บางรายนานหลายสัปดาห์หรืออาจจะถึง 1 เดือน แต่โดยส่วนใหญ่แล้วจะเริ่มมีอาการประมาณ 1-2 สัปดาห์หลังจากรับเชื้อ

สำหรับผู้ที่เป็นโรคฉี่หนูมักมีอาการที่เป็นลักษณะเด่น ๆ 2 ระยะ คือ ระยะแรกผู้ป่วยจะมีอาการ อาการไข้สูง, หนาวสั่น, ปวดศีรษะ, ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ, เจ็บคอ, เจ็บหน้าอก, ไอ, คลื่นไส้, อาเจียน, ตาแดง, เยื่อบุตาบวม, มีผื่น, ต่อมน้ำเหลืองโต, ตับโต, ม้ามโต โดยอาการมักเป็นหลาย ๆ อย่างร่วมกันไม่เฉพาะเจาะจงกับอวัยวะใดอวัยวะหนึ่ง คล้าย ๆ กับอาการของโรคไข้หวัดใหญ่, ไข้เลือดออก, มาลาเรีย, ไข้รากสาดใหญ่ ซึ่งอาการระยะแรกนี้มักจะเป็นอยู่ประมาณ 1 สัปดาห์ แล้วอาการจะดีขึ้น

ระดับโลกยอมรับ ฟ้าทะลายโจร สมุนไพรที่มีการยอมรับ ในการรักษาโควิด-19 ระดับโลก

ไม่ใช่แค่เพียงในไทยเท่านั้นที่มีการใช้ สารสกัด Andrographolide หรือในไทยเรารู้จักกันว่า สารสกัดฟ้าทะลายโจรในการรักษาผู้ป่วยโควิดที่มีอาการไม่รุนแรง เพราะในฟากฝั่งยุโรปก็มีการนำ Andrographolide มาใช้ในการรักษาเช่นกันเพราะ 

มีการศึกษาที่ตีพิมพ์ลงใน วารสารทางการแพทย์ Journal of Traditional and Complementary Medicine ในปี 2021 โดยกล่าวถึงยาสมุนไพรตัวหนึ่งที่มีชื่อการค้าว่า Kan Jang® สามารถใช้ในการรักษาอาการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนและล่าสุดในปี 2022 มีการตีพิมพ์บทความลงในวารสาร Pharmaceuticals ว่า Kan Jang® สามารถรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอาการไม่รุนแรงได้  

วันนี้ผมจึงอยากให้พวกเรามาทำความรู้จัก Kan Jang® กัน 


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top